20111224

สถานที่ท่องเที่ยว จ.ชลบุรี : Chonburi Travel เกาะสีชัง KO SICHANG.

สถานที่ท่องเที่ยว จ.ชลบุรี : Chonburi Travel เกาะสีชัง KO SICHANG.

                            

เกาะสีชัง  เรื่องราวที่เกี่ยวกับชื่อของเกาะสีชังนั้น เป็นภาษาที่ถือเอาความหมายได้ยากยิ่ง แม้แต่ปราชญ์ทางภาษาก็เพียงแต่ตั้งข้อสันนิษฐานถึงความหมายและที่มาของคำว่า "สีชัง" ไว้ดังนี้
  • สีชัง เป็นภาษาของชนชาติหนึ่งที่เป็นชนเผ่าของเขมร เรียกว่า สำแล โดยอาศัยหลักชาติพันธุ์วิทยาเป็นข้อสันนิษฐานเท่านั้น และไม่ทราบความหมายที่แท้จริง
  • สีชัง มาจากภาษาจีน คือ ซีซัน ซึ่งหมายถึง สี่คนทำไร่ โดยมีเรื่องราวเล่าว่ามีพ่อค้าเรือสำเภาจีน 4 นาย ล่องเรือค้าขายมาถึงเกาะแห่งหนึ่ง เกิดความรู้สึกเบื่อหน่ายในธุรกิจการค้ามาตั้งรกราก และหันมาประกอบอาชีพทำไร่อยู่บนเกาะ ซึ่งต่อมาคำว่า "ซีซัน" จึงแผลงมาเป็น "สีชัง"
  • สีชัง มาจากคำว่า "สีห์ชงฆ์" ซึ่งหมายถึง แข้งสิงห์ เพราะเกาะนี้มีรูปร่างคล้ายแข้งสิงห์
  • สีชัง มีตำนานเชื่อว่า ฤๅษีองค์หนึ่งเกิดเบื่อหน่ายโลกีย์วิสัย มาพำนักบำเพ็ญพรตจนมีชื่อเสียงเป็นที่เคารพนับถือชาวบ้าน ต่อมาจึงเรียกเกาะนี้ว่า "เกาะฤษีชัง"
ประวัติเกาะสีชัง นาม "สีชัง" หน้าที่ ๑ อันนาม"สีชัง" นี้ จะมีมาแต่ครั้งใดไม่ปรากฏ หลักฐานแน่ชัด เท่าที่พบหลักฐานจากหนังสือ กำสรวลศรีปราชญ์ ซึ่งแต่งไว้เมื่อราวปี พุทธศักราช ๒๒๓๕ เรียกเกาะสีชังว่า สระชัง ดังในโคลงบทที่ ๗๘ได้พรรณนาถึง เกาะสีชังไว้ดังนี้ 
มุ่งเห็นละล่ายน้ำ            ตาตก แม่ฮา
  เกาะสระชงงชลธี            โอบอ้อม
  มลกกเห็นไผ่รยงรก          เกาะไผ่ พู้นแม่
  ขยวสระดื้อล้ำย้อม           ยอดคราม
 จากหลักฐานดังกล่าว แสดงให้เห็นว่านาม “สระชัง” คงจะเรียกขานกันมาก่อนปีพุทธศักราช ๒๒๓๕ เข้าใจว่า
 ต่อมาการออกเสียง “สระชัง” อาจเพี้ยนไปเป็น “สีชัง” ซึ่งเป็นเสียงสั้น และง่ายกว่า เช่นเดียวกับคำอื่นๆ อีกหลายคำ เช่น บางปลากง ออกเสียงเป็น บางปะกง บางเชือกหนัง ออกเสียงเป็น บางฉนัง วัดเสาประโคน ออกเสียงเป็น วัดเสาวคนธ์ ทัพพระยา ออกเสียงเป็น พัทยา เป็นต้น ได้มีการสันนิษฐานกันเป็นหลายนัยเกี่ยวกับชื่อ สีชัง บ้างก็ว่า คำว่า สีชัง เพี้ยนมาจาก สีห์ชังฆ์ ซึ่งแปลว่า แข้งสิงห์ บ้างก็ว่า สี กับ ชัง เป็นชื่อบุคคลผู้มาตั้ง รกรากทำมาหากินอยู่บนเกาะนี้เป็นคู่แรก อย่างไรก็ตาม คำว่า สระชัง น่าจะมีความไพเราะและ มีความหมายมากที่สุด ทั้งนี้เพราะว่า สระชัง หมายถึง การชะล้างเอาความเกลียดชังออกไป ( มิได้หมายถึงสระน้ำแห่งความชิงชัง ) เช่นเดียวกับคำว่า สระบาป ซึ่งเป็นชื่อเทือกเขาใน จังหวัดจันทบุรี สระบาป หมายถึง การชะล้างเอาบาปทิ้งไป ( มิได้หมายถึงห้วงน้ำแห่งบาป ) จึงถือโอกาสนี้ขออัญเชิญพระราชนิพนธ์ เมื่อคราวเสด็จประพาสจันทบุรีในปีพุทธศักราช ๒๔๑๙ พรรณนาเกี่ยวกับคำว่า สระบาปไว้ดังนี้ 
 สระบาปบาปก่อนสร้าง ปางใด         สระบ่สระทรวงใน สร่างสร้อย
                     สระสนานยิ่งอาไลย นุชนาฏ             สระช่วยสระบาปน้อย หนึ่งให้สบนา
                                       พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว 
 สระบาปบาปสร่างสิ้น ฉันใด สระบ่สระโศกใน อกบ้าง
                     สระสร่างแต่กายใจ                          ยังขุ่น เขียวแฮ
                     สะจะสระโศกร้าง                             รุ่มร้อนฤๅมี
                                           กรมหลวงพิชิตปรีชากร
 อนึ่ง คำว่า สระชัง อาจเพี้ยนมาจากคำว่า สทึง หรือ จทึง ที่แปลว่า แม่น้ำ หรือ ห้วงน้ำ 

ในภาษาเขมร คำอื่นๆ ในภาษาไทยที่เพี้ยนมาเช่นเดียวกัน เช่น สทิงพระ สทิงหม้อ คลองพระสทึง ฉะเชิงเทรา เป็นต้น คำว่า ฉะเชิงเทราเพี้ยนมาจาก สทึงเทรา ที่แปลว่า แม่น้ำลึก หรือห้วงน้ำลึก โดยนัยดังกล่าวข้างต้น คำว่า สระชัง ก็น่าจะเพี้ยนมาจาก สทึง กลายมาเป็น สเชิง สชัง สรชังจนเป็น สระชัง ในที่สุดก็อาจเป็นได้ ในสมัยโบราณ เมื่อการ เดินทางค้าขายกับต่างประเทศยังใช้การคมนาคมขนส่งทางน้ำเป็นสำคัญ ไทยเราได้มีการ ค้าขายกับต่างประเทศอย่างกว้างขวาง ในบรรดาสินค้าที่นำไปขายมีเครื่องสังคโลกรวมอยู่ ู่ด้วย ในสมัยนั้นเรือสินค้าของไทยเป็นจำนวนมากได้อับปางในบริเวณอ่าวไทยด้านตะวันออก บริเวณเกาะสีชัง พัทยา และสัตหีบ ในขณะที่เรือสินค้าเดินทางออกมาจากปากอ่าวเข้าสู่ ทะเลใหญ่ ไม่มีสิ่งใดเป็นที่หมายแห่งสายตา จะมีก็แต่เกาะสีชังเท่านั้นเมื่อชาวเรือแล่นเรือ มาถึงบริเวณนี้และมองเห็นเกาะสีชัง จึงเรียกบริเวณนี้ว่า สระชัง ซึ่งหมายถึงบริเวณที่เป็น ห้วงน้ำอันกว้างใหญ่ คำว่า สระชัง ได้กลายมาเป็น สีชัง ในปัจจุบัน 

เกาะสีชังมีเกาะบริวารรวม 8 เกาะ
  • เกาะขามใหญ่ ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของเกาะสีชัง
  • เกาะขามน้อย ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของเกาะสีชัง
  • เกาะปรง ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของเกาะสีชัง
  • เกาะร้านดอกไม้ ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของเกาะสีชัง
  • เกาะสัมปันยื้อ ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของเกาะสีชัง
  • เกาะยายท้าว ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของเกาะสีชัง
  • เกาะค้างคาว ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของเกาะสีชัง
  • เกาะท้ายตาหมื่น ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของเกาะสีชัง
อาณาเขตติดต่อกับอำเภอและจังหวัดใกล้เคียงดังนี้
ทิศเหนือ-จดทะเลเขตอำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ
ทิศใต้-จดทะเลเขตอำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี
ทิศตะวันออก-จดทะเลเขตอำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี
ทิศตะวันตก-จดทะเลเขตอำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี 


KO SICHANG Ko Sichang (or Koh Sichang Thaiเกาะสีชัง [kɔ̀ʔ sǐːtɕʰāŋ]) is a district (amphoe) of the province ChonburiThailand. It consists of the island of Ko Sichang and its adjoining islands. Ko Sichang is located in the Gulf of Thailand, 12 km away from the western shore of Si Racha districtKing Rama IV, Rama V and Rama VI came to the island for their rest. King Rama V initiated construction of a royal summer palace, named "Phra Chuthathut Palace" (Thai: พระจุฑาธุชราชฐาน) after his son who was born on this island. This royal residence was abandoned in 1893 after the French occupied the island during a conflict with Thailand over control of neighboring Laos. In 1900, the palace was torn down and reassembled in Bangkok, where it is now named Vimanmek Palace.
The island was originally a minor district (King Amphoe) under the Mueang district of Samut Prakan Province. As of 1 January 1943 it was reassigned to the Si Ratcha district of Chonburi.[1] On 4 July 1994 the minor district was upgraded to a full district